วันพุธที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2560
บทอาขยาน
บทกวีที่ดีเป๐นพลังแห่งภูมิป๎ญญาทําให้ผู้อ่านผู้ฟ๎งได้รับรสแห่งถ้อยคํา รู้จักความงามความดี และความ
จริงอันเปนประโยชน์และได้รับแบบอย่างในการแต่งคําประพันธ์ตามความสนใจ เป๐นสื่อ
ส่งเสริมจิตสํานึกและร่วมกันของคนไทยในฐานะรากร่วมทางวัฒนธรรมการเรียนการสอนภาษาไทยในอดีต
จวบจนป๎จจุบัน ผู้มีหน้าที่จัดการศึกษาครูผู้สอนได้ตระหนักถึงความสําคัญของเรื่องดังกล่าวจึงกําหนด
ให้ผู้เรียนท่องจําบทกวีที่ดี ที่คัดสรร หรือที่เรียกว่าบทอาขยานสืบเนื่องมาทุกหลักสูตร อ่านเพี่มเติม
มหาชาติหรือมหาเวสสันดรชาดก
มหาชาติ เป็นชาติที่ยิ่งใหญ่ของพระโพธิสัตว์ที่ได้เสวยพระชาติเป็นพระเวสสันดรและเป็นพระชาติสุดท้ายก่อนจะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คนไทยรู้จักและคุ้ยเคยกับมหาชาติมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ดังที่ปรากฏในหลักฐานในจารึกนครชุม และในสมัยอยุธยาก็ได้มีการแต่งและสวดมหาชาติคำหลวงในวันธรรมสวนะ ส่วนการเทศน์มหาชาติเป็นประเพณีที่สำคัญในทุกท้องถิ่นและมีความเชื่อกันว่า การฟังเทศน์มหาชาติจบภายในวันเดียวจะได้รับอานิสงส์มาก อ่านเพี่มเติม
มงคลสูตรคำฉันท์
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๖ แห่งพระบรมราชวงศ์จักรี ตลอดระยะเวลา ๑๕ ปีที่ครองราชย์ (พ.ศ. ๒๔๕๓-๒๔๖๘) ทรงประกอบพระราชกรณียกิจเป็นอเนกประการ ทรงพระปรีชาสามารถทั้งด้านการทหาร การปกครอง การต่างประเทศ และโดยเฉพาะด้านอักษรศาสตร์ พระองค์ทรงพระราชนิพนธ์งานประพันธ์หลายประเภท เช่น บทละคร บทความ สารคดี นิทาน นิยาย เรื่องสั้น และทรงใช้งานพระราชนิพนธ์เป็นสื่อแสดงแนวพระราชดำริในเรื่องต่างๆ บทพระราชนิพนธ์หลายเรื่องยังได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรว่าเป็นยอดของวรรณคดีหรือเป็นหนังสือที่แต่งดี อาทิ หัวใจนักรบ เป็นยอดของบทละครพูดร้อยแก้ว มัทนะพาธา เป็นยอดของบทละครพูดคำฉันท์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงได้ทรงรับการถวายพระราชสมัญญาว่า "สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า" ซึ่งมีความหมายว่า นักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ และใน พ.ศ. ๒๕๑๕ พระองค์ยังทรงได้รับการประกาศยกย่องจากองค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก (UNESCO) ให้ทรงเป็น ๑ ใน ๕ นักปราชญ์ที่ยิ่งใหญ่ของไทย อ่านเพี่มเติม
ทุกข์ของชาวนาในบทกวี
ทุกข์ของชาวนาในบทกวี มีที่มาจากหนังสือรวมบทพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เรื่อง มณีพลอยร้อยแสง ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดพิมพ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๕๓๓ ในวโรกาสที่พระองค์ทรงเจริญพระชนมายุครบ ๓ รอบ โดยนิสิต คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รุ่นที่ ๔๑
อ่านเพี่มเติม
อ่านเพี่มเติม
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)